“ไม่ทราบว่าคุณมีซีดีรอมขายหรือไม่ครับ ผมอยากจะขอใบเสนอราคาซักหน่อยครับ ช่วยส่ง Fax มาให้ด้วยนะครับ เบอร์โทร xx-xxx-xxxx” เป็นอันสิ้นสุดการสื่อสารสำหรับครั้งนี้ Fax เป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันอยู่ทุกวัน ซึ่งส่วนใหญ่สำนักงานต่างๆ ก็จะมีอย่างบริษัทละเครื่อง เหมาะสำหรับการส่งเอกสารต่างๆ ถึงกันได้ Fax นั้นมีหลายชนิดด้วยกันบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า Fax เป็นแบบไหน บางรุ่นจะใช้เทคโนโลยีของการพิมพ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้เอกสารนั้น ออกมาดูดีและสามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้นานมากขึ้น
บางคนเรียกเจ้า Fax นี้ว่า Telecopying ซึ่งเป็นเครื่อง Telephonic Transmission (ถ้าเอาไปพูดให้คนอื่นฟังคงจะงงกันแน่ๆ เลยครับ) ที่รวมเอาความสามารถของเครื่องสแกนและเครื่องพิมพ์ไว้ด้วยกัน Fax ที่มีวางจำหน่ายอยู่ในปัจจุบันนั้นได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันแบบ Thermal Fax และแบบ Plain Paper Fax (PPF) โดยในแบบ Thermal นั้นจะทำงานโดยใช้ความร้อนจี้ลงบนกระดาษที่เป็นแบบ Thermal Paper (สังเกตได้จากการที่เอามือลองขูดกระดาษดู มันจะลอกเป็นรอยสีดำ) ส่วน Fax แบบ PPF นั้นจะเป็นลักษณะการทำงานที่ใช้การพิมพ์เหมือนเครื่องพิมพ์เข้ามาทำงานแทน กระดาษที่ใช้ก็เป็นแบบกระดาษ A4 ธรรมดาด้วย สำหรับแบบ Thermal Fax นั้นยังสามารถจำแนกเทคโนโลยีของ Fax ออกมาได้ถึง 3 ชนิดด้วยกัน
1. แบบ Non-Cutter Fax
ประเภทนี้เป็นแบบไม่มีใบมีดที่ใช้ในการตัดกระดาษเวลา ที่ คนส่งเอกสารมามันก็จะติดกันเป็นพรืดๆ ซึ่งจะเสียเวลามาตัดเป็นแผ่นๆ กันอีกทีอีกทั้งเป็นรุ่นที่ไม่มีบัฟเฟอร์ซึ่งจะเอามาเก็บข้อมูลในกรณีที่ กระดาษหมด แต่ข้อดีของ Fax ประเภทนี้จะมีราคาที่ถูกที่สุดในบรรดาแฟกซ์ต่างๆ พักหลังนี้ไม่ค่อยจะเป็นที่นิยมกันแล้วเพราะอำนวยความสะดวกไม่ดีเท่าไหร่
2. แบบ Cutter
แฟกซ์แบบนี้จะมีลักษณะการทำงานใกล้เคียงกับแบบ Non-Cutter โดยใช้หลักการทำงานแบบ Thermal เช่นเดียวกันแต่ได้เพิ่มเติมความสามารถในส่วนของ Cutting เข้ามาด้วยนั่นคือการเพิ่มใบมีดเข้าไปเพื่อช่วยในการตัดกระดาษเช่นเดียวกัน แต่รุ่นนี้ก็ยังไม่มีบัพเฟอร์อยู่ดี ซึ่งก็เช่นเดียวกับ Non-Cutter ที่ไม่สามารถเก็บข้อมูลที่ขาดตอนได้
3. แบบ Memory
แฟกซ์ประเภทนี้จะเพิ่มเติมความสามารถในเรื่องของ บัฟเฟอร์เข้าไปด้วย (ประมาณ 512 กิโลไบต์) ในกรณีที่กระดาษหมดเจ้าตัว Memory นั้นจะเก็บข้อมูลเอาไว้ที่ตัวมันก่อนจากนั้นหลังจากที่เราเปลี่ยนกระดาษแล้ว เครื่องก็จะสามารถที่จะพิมพ์เอกสารนั้นออกมาได้ปกติ Fax แบบนี้จะรวมเอาความสามารถของแบบ Cutter เข้าไปด้วยพร้อมทั้งก็มีราคาแพงขึ้นด้วย ปัจจุบันสำนักงานส่วนมากก็จะใช้แฟกซ์ประเภทนี้กันมาก
แฟกซ์แบบ Thermal นั้นจะใช้กระดาษแบบ Thermal ในการทำงานที่เราเห็นเป็นม้วนๆ แต่สำหรับแฟกซ์ PPF ที่ผมจะกล่าวต่อไปนี้เป็นแฟกซ์ที่พัฒนาขึ้นมาจากแบบ Thermal แต่จะต่างๆ กันทั้งเรื่องของกระดาษและเทคโนโลยีในการทำงานเช่นกัน ซึ่ง PPF นั้นยังเป็นชนิดย่อยๆ อีกดังนี้
1. แบบ Thermal Transfer
แฟซ์แบบนี้ยังคงใข้ความร้อนจากหัวพิมพ์เช่นเดียวกับ แบบ Thermal Fax แต่จะแตกต่างกันตรงที่กระดาษที่ใช้โดยแบบนี้จะใช้กระดาษ A4 ธรรมดาแต่จะเพิ่มกระดาษคาร์บอนอีกชิ้นหนึ่งวางบนกระดาษธรรมดาแล้วใช้หัว พิมพ์จิ้มลงไปซึ่งจะลงไปทับกระดาษธรรมดาอีกครั้งหนึ่ง (เหมือนกับที่เราเขียนหนังสือซ้อนกันสองแผ่นโดยใช้กระดาษก๊อปปี้วางตรงกลาง) เจ้าตัวกระดาษคาร์บอนก็จะหมุนไปเรื่อยๆ เหมือนกับผ้าหมึกของเครื่องดอตแมทริกซ์ อายุการใช้งานของกระดาษคาร์บอนจะอยู่ได้นานด้วย
2. แบบ Inkjet
เครื่องแฟกซ์แบบ Inkjet นี้เป็นหนึ่งในเครื่องที่ใช้เทคโนโลยีในการทำงานแบบ PPF ซึ่งใช้กระดาษธรรมดาเช่นกัน ลักษณะที่สำคัญของแฟกซ์ Inkjet จะพิเศษตรงที่มี Ink Cartridge พร้อมติดตั้ง Print Head เอาไว้ใช้ในการพิมพ์เอกสารลงบนกระดาษอีกทีหนึ่งซึ่งลักษณะการทำงานจะคล้าย กับเครื่องพิมพ์แบบ Inkjet โดยทั่วไป และมีบางบริษัทที่ได้ใส่ความสามารถบางชนิดเข้าไปทำให้แฟกซ์ทำงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอุปกรณ์ที่เพิ่มเติมขึ้นมาสำหรับแฟกซ์แบบ Inkjet นั้นก็คือเจ้าตัว Ink Cartridge นั่นเอง มีแฟกซ์ Inkjet บางรุ่นที่สามารถจะพิมพ์เอกสารออกมาให้เป็นสีได้ด้วยถือว่าเป็นมิติใหม่ แห่งวงการแฟกซ์เลยก็ได้
3. แบบ Laser
เมื่อแฟกซ์แบบ Inkjet มีลักษณะการทำงานแบบเครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต แฟกซ์ที่เป็นแบบ Laser ก็จะมีลักษณะการทำงานคล้ายกับเครื่องพิมพ์ LaserJet (ผมได้เคยอธิบายถึงวิธีการทำงานของเครื่อง LaserJet ไปแล้ว) ด้วยเช่นกันกล่าวคือในตัวแฟกซ์นั้นจะมีอุปกรณ์ 2-3 ชิ้นเพิ่มขึ้นจากเดิมก็คือ
1. Drum Unit ทำหน้าที่เหมือน Drum Scan ในเครื่องพิมพ์เลเซอร์
2. Toner จะเป็นผงหมึกที่ใช้ในการพิมพ์
3. Laser Generator เป็นแสงเลเซอร์ที่ใช้ในการฉาบหมึกลงไป
เครื่องแฟกซ์ประเภทนี้ก็จะมีราคาแพงกว่าเครื่องแฟกซ์ อื่นๆ ปัจจุบันทั้งแฟกซ์ Laser และ แฟกซ์ Inkjet กำลังเริ่มที่จะเข้ามาใช้ในสำนักงานต่างๆ มากยิ่งขึ้น
4. แบบ Multi-Function (MFC)
แฟกซ์ประเภทนี้จะรวมเอาความสามารถต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสแกนเนอร์, พริ้นเตอร์ ฯลฯ ไว้ในตัวเครื่องเดียวกันแต่จะตั้งอยู่บนโครงสร้างของแฟกซ์นั้นหมายถึงว่าจะ ให้ความสำคัญของแฟกซ์เป็นหลักส่วนพวกเครื่องเสริมต่างๆ ก็จะเป็นแค่องค์ประกองของเครื่องซึ่งแฟกซ์ประเภท MFC จะมีราคาที่สูงซึ่งสำนักงานหลายแห่งยังไม่นิยมใช้
คุณสมบัติบางประการของ แฟกซ์
1. ความเร็วในการส่งข้อมูล ในเครื่องแฟกซ์แต่ละแบบก็จะมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลใกล้เคียงกันนั่นก็ คือประมาณ 14.4 kbps (ถ้าเป็น FAX/Modem ก็จะมีขนาด 56 kbps) บางรุ่นสามารถเพิ่มออปชันให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นถึง 33.6 kpbs เลยทีเดียว ซึ่งจะช่วยให้การรับ-ส่งเอกสารเป็นไปได้เร็วขึ้น แต่ก็ต้แงหมายความว่าทั้งด้านรับและด้านส่งต้องสามารถใช้ความเร็วเดียวกัน ได้นะครับ
2. เทคโนโลยีแบบ Full Duplex ในอดีตเวลาเราจะจัดส่งแฟกซ์ในแต่ละครั้ง ถ้าหากเครื่องแฟกซ์นั้นกำลังรับเอกสารอยู่ก่อนหน้านี้เราก็จำเป็นต้องรอให้ สิ้นสุดการรับเสียก่อนจึงจะสามารถส่งเอกสารได้ ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของเครื่องแฟกซ์รุ่นเก่า แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ สามารถทำให้เครื่องแฟกซ์นั้นได้เสริมเทคโนโลยี Full Duplex เข้าไปสามารถทำให้แฟกซ์นั้นสามารถรับและส่งเอกสารในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งจะทำให้ประหยัดเวลาไปได้
3. เทคโนโลยี Edge Emphasis System และ The Error Diffusion Method เทคโนโลยีทั้งสองเป็นลิขสิทธิ์ของทางแคนนอน ที่คิดค้นขึ้นมา ซึ่งจะช่วยเพิ่มความคมชัดให้กับงานเอกสารของท่าน โดย Edge Emphasis นั้นจะทำการตรวจสอบ Pixels บริเวณทั้งสี่ด้านเพื่อคำนวณหาค่าความเข้มของแต่ละจุด เมื่อตรวจพบว่าจุดดำเล็กๆ ที่อยู่รอบๆ มีค่าความเข้มของจุดที่เปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว หรือสีขาวไปเป็นสีดำ เครื่องจะทำการปรับความเข้มสำหรับการพิมพ์เอกสาร ให้ใกล้เคียงกับค่าที่อ่านได้ ส่วน Error Diffusion นั้น จะทำให้ภาพขาวดำถูกแบ่งความเข้มจางของจุดดำเล็กๆ หลายระดับ ทำให้เกิดภาพที่ใกล้เคียงภาพต้นฉบับที่สุด
4. ระบบแฟกซ์เซอเวอร์ เป็นระบบแฟกซ์แบบล่าสุดที่ลดการใช้กระดาษและรับส่งแฟกซ์ผ่านทาง อีเมล์ สามารถดูข้อมูลได้ที่ www.faxserverthai.com
เป็นไงบ้างครับกับเครื่องแฟกซ์ที่มีมากหลายชนิดซี่งบ ทความชิ้นนี้ทำให้หลายคนอาจจะรู้จักแฟกซ์เพิ่มมากขึ้นกว่าเก่าอีกด้วย ทีนี้เวลาจะซื้อแฟกซ์ก็คงจะเลือกได้ถูกต้องกับความต้องการใช้ได้แล้ว
ที่มา : arip