วิธีเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคาร

ถ้าเป็นตู้ PABX แบบเดิมที่ใช้หัวเครื่องแบบ analog ธรรมดา ก็ใช้เดินสายโทรศัพท์แบบ 2cores ส่วนระยะทางจากตู้ถึงตำแหน่งoutlet ก็ขึ้นอยู่กับสเป็คของผู้ผลิต ส่วนใหญ่ไปได้ไกลมากกว่าหนึ่งกิโล แต่ถ้าเป็นหัวเครื่องแบบ Digital ก็ใช้สายโทรศัพท์แบบ  4cores แล้วแต่ผู้ผลิตจะเป็นผู้กำหนด ระยะทางจากตู้ถึงตำแหน่งoutlet ก็ขึ้นอยู่กับสเป็คของผู้ผลิตเช่นกัน แต่จะสั้นกว่าแบบหัวเครื่อง analog

telephone cabling

ในส่วนวิธีการเดินสายนั้น ปกติเราจะไม่เดินสายโทรศัพท์ไปยังตู้ PABXโดยตรง แต่จะเดินสายโทรศัพท์จาก outlet ไปยังตู้พักสาย (MDF, Main Distribution Frame) ภายในตู้พักสายจะประกอบไปด้วย ตัวพักสาย ตัวป้องกันฟ้าผ่า โดยแบ่งเป็นพี้นที่ของตัวพักสายของสายนอก และสายในแยกต่างหากจากกัน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลง การย้ายตำแหน่งของสายในภายหลัง ที่กล่าวมาเป็นการออกแบบการเดินสายในแนวระนาบ (Horizontal)

แต่ถ้ามีการเดินสายในอาคาร เป็นลักษณะเดินข้ามชั้น ก็จะมีความสลับซับซ้อนขึ้น เช่น ตู้ PABX อยู่ชั้นล่างสุดของอาคาร แต่มีผู้ใช้งานอยู่อีก 10ชั้น ปกติจะตั้งตู้ MDF อยู่ชั้นล่างสุด (ชั้นเดียวกับ PABX) แล้วลากสายจาก MDFขั้นไปยังผู้ใช้งานในแต่ละชั้น โดยสายที่ลากตามแนวดิ่ง (Vertical) จะเรียกว่า Riser ซึ่งเป็นสายMultipairs cable เช่น สาย 25pairs, 50pairs, 100pairs เป็นต้น โดยสาย Riserจะเชื่อมจากตู้ MDF ไปพักยังตู้พักสายย่อย หรือเรียกว่า IDF (Intermediate Distribution Frame) จากนั้นจึงลากสายโทรศัพท์ธรรมดา กระจายไปตาม Outlet ของผู้ใช้งานในตำแหน่งต่างๆ

ในเทคโนโลยี่ปัจจุบันตู้ PABX จะใช้การเชื่อมต่อไปยังหัวเครื่องผ่านเครือข่ายnetwork เช่น LAN หรือ Wifi เรียกว่าตู้ IP PBX สายที่ใช้เดินก็เป็นสาย UTP Cat5 ขึ้นไป โดยใช้ standard เหมือนการเดินสายในระบบ LANทั่วไป (ไม่เกิน 100m ถ้าเป็นสาย UTP) ไปยังอุปกรณ์network เช่น Switches ส่วนหัวเครื่องก็เป็นแบบ IP Phone นอกจากนึ้บางตู้ยังรองรับทั้งหัวเครื่อง IP Phone, analog phone หรือ digital phone เรียกว่าตู้แบบ Hybrid