บริการสำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน มีอะไรบ้าง

Voice Over Internet Protocol ( VOIP )

เทคโนโลยี VOIP นี้ได้รับการพัฒนามาจาก Computer Telephony Integration เทคโนโลยี Voice Over Internet Protocol  เป็นเรื่องของการส่งเสียงพูดหรือส่งข้อมูลประเภทของเสียงผ่านทางเครือข่าย Internet หรือ Intranet ของทางบริษัท โดยที่จะมี  Gateway อยู่ระหว่างตู้โทรศัพท์หรือ PBX (Private Branch Exchange) กับระบบ LANโดยทำหน้าที่ในการบีบขนาดไฟล์ข้อมูล  ของการคุย แปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปของแพ็กเกต IP แล้วส่งเข้าไปในเครือข่าย จากนั้น Gateway ฝั่งตรงข้าม จะทำการขยายขนาด  และแปลงข้อมูลกลับมาอยู่ในรูปของเสียง ทำให้ผู้ใช้คุยกันได้ด้วยโทรศัพท์ธรรมดา VoIP สามารถประยุกต ใช้ได้กับข้อกำหนดของการ  สื่อสารด้วยเสียงเกือบทั้งหมด ตั้งแต่การสื่อสารแบบง่ายระหว่างอินเทอร์คอมของสำนักงาน ไปจนถึง multi-point teleconference  ที่ยุ่งยาก การประยุกต์ใช้งานของ VoIP นั้นส่วนใหญ่จะเป็นแบบ real-time อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องมีความยืดหยุ่นสูง สามารถสร้างความพอใจ  ให้กับทุกฝ่ายและใช้งานได้กับสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย และสามารถทำงานร่วมกับระบบโทรศัพท์ดั้งเดิมได้จุดประสงค์หลักในการพัฒนา  VoIP คือ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของการใช้โทรศัพท์ (ทั้งการส่งสัญญาณเสียงและการเข้าสัญญาณ) เป็นระบบเครือข่ายIPและเชื่อมต่อ  กับระบบโทรศัพท์สาธารณะและส่วนตัว ในลักษณะที่ยังคงรักษาคุณภาพเสียงและคุณสมบัติเดิมของโทรศัพท์

ISDN
ISDN เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในระบบดิจิตอลทั้งทางต้นทางและปลายทางต่างกับระบบ โทรศัพท์ทั่วไปที่ด้านคอมพิวเตอร์ปลายทางทำงาน  ด้วยสัญญาณ ดิจิตอลแล้วแปลงสัญญาณผ่านโมเด็มไปเป็นอนาล็อกเพื่อส่งเข้าข่ายสายโทรศัพท์ กล่าวอีกนัยหนึ่งแล้วคือไม่ต้องมีการแปลง  ระหว่างสัญญาณดิจิตอล และอนาล็อก สัญญาณข้อมูลในระบบ ISDN จึงมีความเพี้ยนน้อยกว่าและน่าเชื่อถือสูงกว่าระบบเดิม ISDN คือ  การรวมบริการหลายอย่างไว้ภายใต้คู่สายเดียว อุปกรณ์ ปลายทางเช่นโทรสาร โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารข้อมูลอื่นๆ จึงสามารถ  เชื่อมเข้ากับเครือข่ายโดยใช้เพียงคู่สายร่วมกันได้ เครือข่าย ISDN จึงเป็นเครือข่ายเอนกประสงค์สำหรับทุกบริการ นอกจากจะ ส่งข้อมูลซึ่งอาจ  เป็นภาพ เสียง หรือข้อความแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงกับข่ายโทรศัพท์ที่มีใน ปัจจุบันได้ทำให้สามารถใช้บริการ ISDN เพื่อการสื่อสารข้อมูล  หรือการ สนทนาได้พร้อมกัน บริการ ISDN ในปัจจุบันมี 2 บริการหลักตามจำนวนช่องสัญญาณ คือ
BAI (Basic Access Interface) เป็นรูปแบบที่ให้บริการต่อผู้เช่าด้วยสายโทรศัพท์ ธรรมดาจากชุมสาย ISDN ถึงด้านปลายทาง คู่สาย  ที่ลากโยงมาให้นี้จะช่องสัญญาณรับส่งข้อมูลซึ่งเรียกว่า ช่องสัญญาณ B จำนวน 2 ช่อง ความเร็วช่องละ 64 กิโลบิตต่อวินาที และมีอีกหนึ่ง  ช่องสัญญาณ เรียกว่าช่องสัญญาณ D ใช้สำหรับควบคุมการติดต่อที่ความเร็ว 16 กิโลบิตต่อวินาที จึงนิยม เรียกบริการ BAI นี้ว่า 2B+D  ผู้เช่าคู่สาย ISDN หนึ่งคู่สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 144 กิโลบิตต่อวินาที โดยสามารถเชื่อมอุปกรณ์เข้าคู่สายได้สูงสุด 8 เครื่อง  และสามารถใช้อุปกรณ์ 2 เครื่องได้ในเวลาเดียวกัน
PRI (Primary Rate Access Interface) รูปแบบนี้เป็นบริการเครือข่ายผ่าน ไยแก้วนำแสง โดยมีช่องสัญญาณข้อมูลให้ใช้ 30 ช่องๆละ  64 กิโลบิตต่อวินาที และช่อง สัญญาณ ควบคุมความเร็ว 64 กิโลบิตอีกหนึ่งช่อง จึงเรียกบริการแบบนี้ว่า 30B+D
PABX Telephone Network
ตู้สาขาอัตโนมัติ ( PABX )การติดตั้งคู่สาย PRI ( ISDN PABX ) เหมาะสำหรับอาคารสำนักงานของธุรกิจที่มีพนักงานจำนวนมาก  และมีการติดต่อสื่อสารภายในอยู่เสมอ สามารถติดต่อได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และรองรับการใช้งานติดต่อสื่อสารรูปแบบต่างๆ กับ User  ปลายทางจากภายนอกได้พร้อมกัน 30 User กรณีที่ลูกค้าเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มีพนักงานภายในจำนวนมากและมีการติดต่อภายใน อยู่เสมอ  สามารถติดตั้งตู้สาขาระบบ ISDN ( ISDN PABX ) เพื่อเพิ่มความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร และประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดต่อสื่อสาร  ภายใน โดยสามารถใช้ช่องสัญญาณสื่อสารได้สูงสุดถึง 30 ช่องสัญญาณในการติดต่อสื่อสารกับ User ภายนอกเช่น ลูกค้า บริษัทคู่ค้า บริษัท  ในเครือข่ายที่อยู่คนละสถานที่ และมีเลขหมายสูงสุดถึง 100 เลขหมาย ( ต่อการขอใช้บริการ 1 PRI ) นอกจากนี้ธุรกิจสามารถนำอุปกรณ์  สื่อสารในรูปแบบต่างๆ มาใช้งานหลังตู้สาขา ISDN PABX ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ดิจิตอล โทรสารดิจิตอล คอมพิวเตอร์  หรือแม้แต่อุปกรณ์ทันสมัยอย่าง Video Conference ซึ่งธุรกิจสามารถติดต่อกับปลายทางที่ใช้ระบบ ISDN ด้วยกันหรือระบบ์ธรรมดาก็ได้

PSTN
PSTN ย่อมาจาก Public Switch Telephone Network หรือ เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน หรือเรียกง่ายๆว่าเครือข่ายโทรศัพท์บ้าน (เช่น เครือข่ายของ TOT, TA, หรือ TT&T) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายต่างๆ ทั้งในพื้นที่เดียวกัน, ทางไกลต่างจังหวัด, ทางไกลต่างประเทศ, และเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อกับ PSTN เพื่อจะได้ติดต่อกับ โครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน และ เครือข่ายโทรศัพท์อื่นๆได้

DSLAM
DSLAM คือ อุปรณ์ที่ ทศท หรือ TT&T ใช้เชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับอินเตอร์เน็ตอีสท์ การเชื่อมต่อจะวิ่งผ่านวงจรความเร็วสูงเข้าสู่ ู่ อินเตอร์เน็ตอีสท์ ในการใช้งานท่านจะได้รับ IP จากอินเตอร์เน็ตอีสท์ตามรูปแบบที่สมัครเช่นส่วนบุคคล ท่านจะได้รับ IP เปลี่ยนไปทุกครั้ง  ที่เชื่อมต่อ แต่หากเป็นผู้ใช้แบบองค์กรจtได้รับ IP แบบคงที่ DSLAM ทำให้ความเร็วการใช้งานของ ADSL มีความแตกต่างจากบริการ  เคเบิ้ลอินเตอร์เน็ต คือ ระบบเคเบิ้ลอินเตอร์เน็ตจะเป็นการใช้ความเร็วร่วมกันทั้งหมดกับผู้ใช้ใน เครือข่ายเดียวกัน แต่ ADSL จะเป็นความ  เร็วที่ให้ความเร็วของแต่ละคู่สาย ทำให้ขณะที่ใช้งานหากมีผู้ใช้อื่นเข้าใช้พร้อมๆกันเพิ่มขึ้น จะไม่พบความเร็วที่ตกลงไปเหมือนที่ใช้กับ  ระบบเคเบิ้ลอินเตอร์เน็ต ความร็วจะตกลงไปหากความร็วสูงระหว่างอินเตอร์เน็ตอีสท์และ ทศท หรือ TT&T ไม่พอ ซึ่งฝ่ายเทคนิคของ  อินเตอร์เน็ตอีสท์จะคอยดูแลตลอดเวลา