ตู้สาขา PBX (Private Branch Exchange) และ IPPBX คืออะไร

PBX (Private Branch Exchange) คือ ตู้โทรศัพท์สาขา บางทีเรียกว่า ตู้สาขาโทรศัพท์ หรือ ตู้PBX เป็นระบบชุมสายโทรศัพท์ย่อย ทำให้ภายในบริษัทหรือหน่วยงานนั้นมีเบอร์โทรศัพท์ (เบอร์ต่อ หรือ เบอร์ภายใน หรือ เบอร์ extension) เป็นของตนเองใช้สำหรับโทรติดต่อสื่อสารกันเอง นอกจากนี้เบอร์โทรศัพท์เหล่านั้น ยังสามารถติดต่อไปยังระบบโทรศัพท์ภายนอก หรือชุมสายโทรศัพท์ภายนอก ที่เรียกว่า PSTN (Public Switched Telephone Network) ได้

PBX ตู้โทรศัพท์สาขา บางครั้งใช้คำว่า PABX (Private Automatic Branch Exchange) แทนก็ได้
โดยคำว่า automatic หมายความว่า ตู้โทรศัพท์สาขาสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ตามที่ตั้งค่าไว้
PBX ตู้โทรศัพท์สาขา มีหลายประเภท ขึ้นอยู่ความต้องการในการใช้งาน

– PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital (IP-PBX หรือ IPBX)
– PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ analog (Switching PBX)

PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital หรือ IP-PBX

IP (Internet Protocol) PBX (Private Branch Exchange) IP-PBX เป็นการรวมเทคโนโลยีของ ระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่ใช้กันทั่วไปรวมเข้ากับระบบ Voice Over IP (VoIP) ทำให้ได้คุณสมบัติของระบบโทรศัพท์ ที่มีความสามารถมากขึ้น สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกันได้กว้างขวางมากขึ้น โดยสามารถสื่อสารกันได้ทั้งบนระบบโทรศัพท์พื้นฐาน ที่มีอยู่และทางระบบ IP ได้พร้อมๆ กัน

Zycoo IP PBX

คุณสมบัติที่ทาง IP PBX มีอยู่คือ สามารถเชื่อมต่อกันผ่านทางระบบเครือข่ายหรือ IP ได้ ผู้ใช้สามารถเชื่อมเข้าระบบจากที่ใดก็ได้ที่มีระบบเครือข่าย หรือ Internet เชื่อมต่อถึง รวมถึงการประชุมทางเสียง โดยบวกกับความสามารถในการใช้งานอื่นๆ เช่น Voice Mail, Call Center และอื่นๆ

lvswitch IP PBX 8000

PBX แบบนี้มีหลายลักษณะหากแบ่งตามลักษณะกายภาพ บางแบบเป็นกล่องเหมือนแบบ analog บางแบบเป็นกล่องเหมือน hub หรือ switch LAN
PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบนี้ส่วนใหญ่สามารถติดตั้งในตู้แร็คมาตรฐาน (rack 19 นิ้ว) ได้ PBX แบบนี้นิยมใช้สายสัญญาณคอมพิวเตอร์ (สาย LAN)
ซึ่งภายในมี สายไฟเส้นเล็ก 8 เส้น ใช้หัวต่อ LAN แบบ RJ-45 (หัวต่อสายแลนมาตรฐาน) เป็นสายนำสัญญาณ digital ไปยังเครื่องโทรศัพท์แบบ digital หรือ IP Phone ซึ่งบางครั้งสามารถใช้ soft phone ซึ่งเป็นโปรแกรมเลียนแบบการทำหน้าที่ของเครื่องโทรศัพท์ และใช้ชุดไมโครโฟน และหูฟัง แทนการใช้หูเครื่องโทรศัพท์

PBX ตู้โทรศัพท์สาขา แบบ digital ที่เป็นที่นิยมมากคือ PBX ที่ทำจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และติดตั้งโปรแกรมควบคุมระบบโทรศัพท์ (PBX software)

PBX ตู้โทรศัพท์สาขา แบบ analog หรือ Switching PBX

ป็น PBX แบบดั้งเดิม มีจำนวนใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน แต่ความนิยมกำลังลดลงอย่างรวดเร็ว และคงจะเลิกใช้ในที่สุด
PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบนี้มีลักษณะเป็นกล่องหรือตู้ มีตั้งแต่รุ่นเล็กขนาดเท่าสมุดโทรศัพท์ จนถึงรุ่นใหญ่ที่มีอุปกรณ์จำนวนมาก และต้องใช้ห้องขนาดใหญ่ในการติดตั้ง
PBX แบบนี้นิยมใช้สายโทรศัพท์ แบบเส้นเล็กสีเหลืองซึ่งภายในมีทั้งแบบสายไฟเส้นเล็ก 2 เส้นและ 4 เส้น ใช้หัวต่อโทรศัพท์แบบ RJ-11 (หัวต่อโทรศัพท์มาตรฐาน)

เครื่องโทรศัพท์แบบ digital หรือ IP Phone สำหรับ PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital (IP-PBX หรือ IPBX)
จาก ข้อดีของ PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital (IP-PBX หรือ IPBX) ที่มีเหนือกว่า PBX แบบ analog (Switching PBX) ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีความต้องการติดตั้ง PBX ใหม่
หันมาเลือกติดตั้ง PBX แบบ digital แทนการติดตั้ง PBX แบบ analog ในจำนวนสัดส่วนที่สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ไม่ ว่าการติดตั้ง PBX ใหม่นั้น จะเนื่องมาจาก ไม่เคยติดตั้งมาก่อน หรือเพื่อทดแทน PBX เดิมที่เสีย หรือเพื่อเพิ่มขยายจำนวนเบอร์โทรศัพท์ภายในที่ PBX เดิมติดข้อจำกัด ไม่สามารถเพิ่มได้ หรือเพิ่มได้ในราคาที่สูงมาก

เมื่อระบบ PBX ตู้โทรศัพท์สาขาที่ติดตั้งเป็นแบบ digital เครื่องโทรศัพท์ที่ใช้ ก็ต้องเป็นระบบ digital เช่นเดียวกัน โดยระบบ PBX แบบ digital สามารถเลือกโทรศัพท์ได้ดังนี้
เครื่องโทรศัพท์แบบ digital หรือ IP Phone แบบเครื่องโทรศัพท์ ลักษณะภายนอกคล้ายกับโทรศัพท์ธรรมดา และการทำงานภายในเป็นระบบ digital และใช้สายสัญญาณแบบ IP หรือสายแลน แทนสายโทรศัพท์แบบเดิม
เครื่องโทรศัพท์แบบ digital หรือ IP Phone แบบ Soft Phone เป็นโปรแกรมสำเร็จรูป ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำงานแทนเครื่องโทรศพัท์ ใช้ชุดไมโครโฟน และลำโพง (บางครั้งใช้หูฟัง) แทนเครื่องโทรศัพท์ และใช้สายสัญญาณแบบ IP หรือสายแลน เหมือนกับ IP Phone แบบเครื่องโทรศัพท์ โดยโปรแกรมสำเร็จรูป Soft Phone มีทั้งแบบที่เสียค่าลิขสิทธิ์ และเป็นโปรแกรมฟรี ซึ่งมีความสามารถแตกต่างกันไป โดยโปรแกรม Soft Phone นั้นมีให้เลือกได้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ Windows
(เช่น Windows XP, Windows Vista, Windows 7) บนระบบปฏิบัติการ UNIX ระบบปฏิบัติการ LINUX ต่าง ๆ และบนระบบปฏิบัติการ MAC

การต่อเครื่องโทรศัพท์แบบ analog เข้ากับ PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital (IP-PBX หรือ IPBX)
ถึง แม้ว่าโทรศัพท์แบบ IP Phone ได้ถูกออกแบบมาสำหรับใช้กับ PBX ตู้โทรศัพท์สาขาแบบ digital โดยเฉพาะ แต่หลายหน่วยงานที่ติดตั้ง PBX แบบ digital เพื่อทนแทน PBX แบบ analog เดิม
หรือติดตั้ง PBX แบบ digital เพื่อเพิ่มเข้ากับระบบ PBX แบบ analog เดิม ยังมีเครื่องโทรศัพท์แบบ analog อยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์แบบ analog ติดตั้งกับ PBX แบบ digital โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า ATA Gateway เพื่อแปลงสัญญาณ digital เป็น analog เพื่อใช้กับเครื่องโทรศัพท์แบบเก่า
การติดตั้ง ATA Gateway เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับ การถ่ายโอนระบบโทรศัพท์แบบ analog ไปสู่ระบบ digital โดยยังคงสามารถใช้เครื่องโทรศัพท์แบบเก่า (analog) ได้
จน กว่าหน่วยงานพร้อมที่จะติดตั้งระบบโทรศัพท์ทั้งหมดเป็นแบบ digital จึงใช้ IP Phone เข้าแทนที่ เครื่องโทรศัพท์แบบเก่า ติดตั้งเข้ากับ PBX แบบ digital